Search

โปรดรัดเข็มขัด! ระวัง 'โควิด' ระบาดอีกครั้ง - กรุงเทพธุรกิจ

friesfresh.blogspot.com

2 สิงหาคม 2563 | โดย นฤมล ทับปาน

71

หากว่า "โควิด" มีการระบาดระลอก 2 ประเทศไทยพร้อมแค่ไหนที่จะรับมือ ทั้งในแง่สุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม

หากมีการระบาดระลอก 2 ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะรับมืออย่างไร? คำถามปลายเปิดนี้เกิดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ขึ้นลงไม่ต่างจากกราฟการเต้นของหัวใจ เหตุการณ์ทหารอียิปต์และลูกของอุปทูตซูดาน ที่เข้ามาพำนักในประเทศไทยและพบติดเชื้อโควิด-19 เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ตามมาด้วยคำถามมากมายถึงมาตรการป้องกันโรคที่ยังไม่เข้มงวดเท่าที่ควร ซึ่งอาจนำประเทศไทยไปสู่ความยุ่งยากอีกครั้ง

โดยจากการประเมินความเสี่ยงของกระทรวงสาธารณสุขและผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การระบาดระลอก 2 มีแนวโน้มเกิดขึ้นจริงสูง แต่จะเกิดจากสาเหตุใด จากแหล่งไหน ความรุนแรงเท่าไร และประเทศไทยควรรับมืออย่างไรนั้น มาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน

  • คลังยาและเวชภัณฑ์คือความหวัง

แม้ว่าประเทศไทยจะไม่พบการติดเชื้อในประเทศมานานเกือบสองเดือน แต่นั่นไม่ใช่หลักประกันว่าจะไม่เกิดขึ้นอีก เห็นได้จากหลายประเทศที่ไม่พบการติดเชื้อ แต่ในที่สุดก็มีการระบาดขึ้นอีกครา เช่น จีน ฮ่องกง หรือประเทศที่ควบคุมได้ดีในระยะแรกอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ดังนั้นประเทศไทยจึงมีโอกาสสูงที่จะเกิดการระบาดระลอก 2 ในครึ่งปีหลังนี้

นพ.โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม พูดในงานเสวนา ‘Virtual Policy Forum : เตรียมพร้อมอย่างไรกับการระบาดรอบที่สอง ของ COVID-19ถึงโอกาสการระบาดระลอกใหม่ โดยพิจารณาตามหลัก 3 ต คือ การติดต่อของโรค การตาย และการเตรียมตัวรับมือ

159633737131

หากพิจารณาจากเส้นทางการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย การระบาดสามารถผ่านมาทางพม่าได้และมีโอกาสสูงที่จะเข้ามาไทยได้ไม่ยาก ซึ่งถ้าจำนวนผู้เสียชีวิตยังไม่มาก และมียารักษาก็ไม่น่ากังวลนัก แต่ถึงอย่างนั้นจะการ์ดตกไม่ได้เด็ดขาด เพราะการเตรียมพร้อมรับมือการระบาดอยู่เสมอเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง

ไม่ว่าจะวงการสาธารณสุขหรือหน่วยงานใด เชื่อว่าขณะนี้มีการเตรียมตัวตั้งรับ ซึ่งเราเองก็มีการเตรียมตัวเรื่องความมั่นคงทางยาและเวชภัณฑ์ ให้มีใช้เมื่อยามจำเป็นไม่ว่าจะภาวะปกติหรือฉุกเฉิน โดยเรามีหน้าที่หลักๆ คือการจัดการยา วัคซีน ชุด PPE รวมถึงเครื่องมือต่างๆ ในการป้องกัน และหน้ากากรองรับการระบาดประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม กล่าว

ทั้งนี้ ‘ยาและวัคซีน’ ไทยเองมีการผลิตยาหรือพัฒนายารักษาโรคอยู่แล้ว อย่างโรคเอดส์ ที่ใช้ยาต้านไวรัส ARV แต่สำหรับโควิด-19 ใช้ยาชื่อว่า ‘ฟาวิพิราเวียร์’ (Favipiravir) ที่ญี่ปุ่นเป็นผู้คิดค้น ซึ่งขณะนี้มีในคลังสินค้าราว 590,680 เม็ด สามารถใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้ประมาณ 8,400 คน แต่ใช่ว่าทุกคนที่ป่วยจะใช้ เพราะส่วนใหญ่จะใช้ยาตัวนี้ก็ต่อเมื่อเริ่มมีอาการปอดบวม เพื่อไม่ให้ลุกลามและลดอัตราการตายลง

แม้ไทยจะมียาในคลังแล้ว แต่การพัฒนายาจากฟาวิพิราเวียร์ เพื่อรับมือการระบาดระลอก 2 เป็นสิ่งที่ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรมบอกว่า สามารถทำได้ดีกว่านั่งรอความหวังจากวัคซีนที่ไม่รู้จะได้เมื่อไรอย่างเดียว

ยกตัวอย่าง ยาไข้หวัดใหญ่ เราก็ผลิตโอเซลล์ทามมีเวียร์ โดยซื้อวัตถุดิบมาเรียกว่าเป็น API คือสารเคมีตั้งต้น เอามาผสมสูตรในห้องทดลอง ซึ่งในต้นปีหน้าจะนำมาผสมสูตรในระดับอุตสาหกรรมช่วงมกราคม เราไม่ได้เป็นผู้ผลิตเองตั้งแต่ต้นน้ำ เพราะเรายังไม่สามารถผลิตสารตั้งต้นได้เอง เรามีเพียงพืชสมุนไพรที่ปลูกและสกัดเท่านั้น คิดว่าราวๆ ปี 65 น่าจะทำได้

ส่วนวัคซีนขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือและประสานเทคโนโลยีการแบ่งบรรจุ เพื่อให้คนไทยเข้าถึงวัคซีนได้ ซึ่งต้องรอผลการเจรจาและอาจใช้เทคโนโลยีด้วยการนำเชื้อฉีดเข้าไข่ฝัก เพื่อสร้างภูมิต้านทานออกมา โดยองค์การเภสัชกรรมมีโรงงานลักษณะดังกล่าวที่ จังหวัดสระบุรี และทดลองในหนู คาดว่าจะทราบผลปลายเดือนตุลาคมปีนี้

นอกจากนี้ ยังให้งบประมาณสนับสนุน ทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล ในการวิจัย cell-based COVID-19 vaccine ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีนี้ จึงกำลังหารือว่าจะลงทุนเรื่องนี้อย่างไร ทั้งหมดก็เพื่อให้ไทยพึ่งพาตนเองให้ได้

159633737123

อย่างไรก็ตาม การเตรียมพร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ ก็สำคัญไม่แพ้การเร่งพัฒนายาและวัคซีน ทั้งการสำรองชุด PPE, N95 และ Surgical mask ในการป้องกัน โดยจากการคาดการณ์ของนพ.โสภณและทีม ถึง ความต้องการ PPE ในประเทศไทย พบว่า ในความเสี่ยงน้อยและปานกลาง จะใช้ชุด Coverall หรือชุดหมี 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วน Isolation gown หรือเสื้อกาวน์ธรรมดาใช้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ด้วยกัน

ในช่วงการระบาดแรกๆ เราสั่งได้จากเจ้าเดียวคือเวียดนาม แต่ตอนนี้เขาเป็นบริษัทของอเมริกา ส่งเพียงอเมริกาเท่านั้น เราจึงต้องพึ่งตัวเอง โดยมองหาผู้ผลิตชุดในวงการแพทย์ กลายเป็นว่าเราได้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย สถาบันอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือกันจนภายในเดือนเดียวสามารถผลิตออกมาได้ เป็นแบบรียูส โพสีเอสเตอร์ 100 เปอร์เซ็นต์

รวมถึงหน้ากาก N95 ที่ยังคงมีอยู่ในสต็อก 1.3 ล้านชิ้น และมีเครื่อง UVC ที่จะสามารถฆ่าเชื้อและนำกลับไปใช้ซ้ำได้อีก 4 ครั้ง ทั้งยังได้รับนโยบายให้ติดตั้งโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยและ N95 ขององค์การเภสัชกรรม ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคมปีหน้า โดยจะมีหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ 15 ล้านชิ้น/ปี, หน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่น PM 2.5 3 ล้านชิ้น/ปี, หน้ากาก N95 ทางการแพทย์ 3 ล้านชิ้นต่อปี และในวิกฤติเช่นนี้นี่อาจเป็นโอกาสในการลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมยาเพื่อการค้าการส่งออกก็เป็นได้

“เรารออย่างเดียวไม่ได้ ทั้งเรื่องยาและการป้องกัน เพราะเราจะอดตายกันก่อน ต้องอยู่ในโลกนี้ให้ได้ และอยู่ตรงจุดสมดุล อย่าตั้งความหวังว่าผู้ป่วยเป็นศูนย์เสมอ แต่ถ้ามีแล้วโรงพยาบาลอยู่ภาวะที่สามารถรับได้ เราควรรักษาสมดุลตรงนี้มากกว่า”

  • การเจรจา วัคซีน-ยาระหว่างประเทศ

'รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง' ประโยคยามออกศึกเติมเต็มมุมมองของ นพ.ทวิราป ตันติวงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสมาคมผู้ช่วยวิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) ที่มองว่าควรเน้นในการวิจัยและพัฒนาให้เกิดนวัตกรรม เพื่อหากระสุนใหม่ๆ มาให้แพทย์สามารถใช้ต่อสู้กับไวรัสครั้งนี้

จากยาฟาวิพิราเวียร์ พัฒนาสู่ยาต้านไวรัสโควิด-19 ประเด็นหลักคือ การหยิบทรัพยากรที่มีอยู่หรือที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 และหาวิธีการเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้ นี่คือหลักการของการพัฒนาเวชภัณฑ์โดยใช้วิทยาศาสตร์ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรักษาโรค ที่ต้องเข้าใจกลไกของโรคก่อน ซึ่งการทุ่มทุนวิจัยและพัฒนาก็เพื่อจะเติมเต็มสิ่งที่มีและยังขาด

ตอนนี้ต่างจากเมื่อ 3-4 เดือนที่แล้วมาก เพราะเรารู้เขาเยอะและเราก็รู้เราเยอะแล้ว ช่วงแรกเราคิดกันว่าเหมือนโรคไข้หวัด แต่พอเราไปศึกษาให้ดีพบว่า การที่ทำให้เกิดเป็นโรค เชื้อต้องเข้าสู่เซลล์ในร่างกายก่อน ซึ่งสิ่งนั้นคือรีเซบเตอร์ที่อยู่บนผิวเซลล์เสมือนจานรับคลื่น ที่ปกติจะจับฮอร์โมนหรือเอนไซม์ชื่อเอนติโอเทนซินสารตัวนี้มีผลกระทบต่อความดันและการทำงานของหลอดเลือด ซึ่งโควิดใช้ช่องทางนี้ในการผ่านเข้าสู่เซลล์ในร่างกายนพ.ทวิราป อธิบายถึงหลักการที่ไวรัสทำลายเซลล์ในร่างกายเราอย่างไม่ปรานี

แน่นอนว่า ‘วัคซีน’ สามารถช่วยได้โดยกระตุ้นให้เกิดแอนติบอดี้และเซลล์เม็ดเลือดขาว ยับยั้งการแตกตัวของเซลล์ไวรัส และในกรณีที่ไวรัสเข้าไปในเซลล์เกิดการติดเชื้อแล้ว ตัวเม็ดเลือดขาวจะเข้าไปเขมือบเซลล์นั้นทันที นี่คือคุณสมบัติของวัคซีนที่ นพ.ทวิราป พูดถึง แต่ทั้งนี้ก็มีกลไกยาอื่นๆ ในการรักษาด้วยเช่นกัน

เนื่องจากไวรัสมีหน้าที่ในการพัฒนา สร้างสารพันธุกรรม และแพร่พันธุ์ แต่การแพร่พันธุ์นั้นทำให้เซลล์ของเราตาย โดยสร้างการต่อต้านจากระบบภายในของร่างกายเราเอง วัคซีนที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ร่วมมือกับบริษัทแห่งหนึ่ง โดยใช้อะดิโนไวรัสเป็นตัวนำพา ซึ่งเป็นไวรัสหวัดของลิงชิมแปนซี นำมาพัฒนาเพื่อไม่ให้สามารถขยายพันธุ์ได้ แล้วนำสารพันธุกรรมโควิด-19 ใส่เข้าไป จากนั้นไวรัสของลิงตัวนั้นจะไปใช้สารพันธุกรรมของโควิด-19 ทำให้เกิดหนามสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และสร้างแอนติบอดี้ขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งความหวังที่น่าจับตา

ทั้งนี้ หากถามถึงโอกาสในการเข้าถึงยาและวัคซีนดังกล่าว นพ.ทวิราป กล่าวว่า 11 ปีที่แล้วไทยเคยเจรจาถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำวัคซีนเชื้อเป็ดจากรัสเซีย เพื่อนำมาทำยาและวัคซีนรับมือกับโรคซาร์ส เพราะฉะนั้นไทยเองก็มีประสบการณ์ในการเจรจาด้านนี้อยู่แล้ว และครั้งนี้แม้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เชื่อว่าทำได้

159633737085

  • ตั้งการ์ดสูงพร้อมรับมือโควิด-19

นอกจากวัคซีนจะเป็นความหวังในการรักษาโควิด-19 แล้ว ยังเป็นความหวังในด้านการติดต่อธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยวต่างๆ อีกด้วย แต่หากการผลิตวัคซีนยืดเยื้อจะปรับตัวกันอย่างไร นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข ด้านต่างประเทศ เสนอให้มีการเปิดประเทศอย่างปลอดภัย เพื่อคนไทยไม่อดตาย ซึ่งพิจารณาแล้วว่าไทยต้องเปิดประเทศขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้คนมีงานทำ โดยอยู่บนหลักการ 3 อย่างคือ เลิกตั้งเป้าหมายผู้ติดเชื้อเป็น 0 ในประเทศ แต่ให้กำหนดจำนวนขั้นต่ำว่ากี่รายที่สามารถรับได้ และต้องเปิดประเทศอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ที่สำคัญคือต้องเข้มงวดในเงื่อนไขไม่มีข้อยกเว้น รวมถึงเปิดให้ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมาผู้ที่กำหนดทิศทางเป็นภาครัฐและภาคเอกชนเท่านั้น

อย่างไรก็ตามทุกคนต้องร่วมมือกัน ‘การ์ดไม่ตก’ รักษาระดับการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวด ทั้งการใส่หน้ากากผ้า ล้างมืออย่างสม่ำเสมอ และเว้นระยะห่างทางสังคม รวมทั้งใช้แอพพลิเคชันไทยชนะในการเช็คอินสถานที่ที่เดินทางไป

สุดท้ายต้องพัฒนาระบบการเยียวยาเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง และใช้โอกาสนี้ในการลดความเหลื่อมล้ำสร้างความยั่งยืน ทั้งหมดเป็นหนึ่งในทางรอดของพวกเราทุกคนในวิกฤตการณ์โควิด-19

Let's block ads! (Why?)



"การป้องกัน" - Google News
August 02, 2020 at 10:10AM
https://ift.tt/33jDZEO

โปรดรัดเข็มขัด! ระวัง 'โควิด' ระบาดอีกครั้ง - กรุงเทพธุรกิจ
"การป้องกัน" - Google News
https://ift.tt/2ZY9SB2


Bagikan Berita Ini

0 Response to "โปรดรัดเข็มขัด! ระวัง 'โควิด' ระบาดอีกครั้ง - กรุงเทพธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.