Search

รู้จักเชื้อ "นิวโมคอคคัส" ตัวการสู่ "โรคปอดบวม" เช็ก 10 ปัจจัยเสี่ยง ป้องกันไม่ยาก - ไทยรัฐ

friesfresh.blogspot.com

1. อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี

2. เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ, โรคหอบหืด, โรคเบาหวาน, โรคปอด หรือโรคไต

3. ผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายอวัยวะ

4. ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี

9. สูบบุหรี่

10. โรคพิษสุราเรื้อรัง

ด้าน นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากสงสัยว่ามีอาการ ไข้สูง ไอ หนาวสั่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก อาจมีอาการของไข้หวัดนำมาก่อนหรือไม่ก็ได้ ให้รีบพบแพทย์

สำหรับวิธีที่ดีที่สุดในการหยุดการแพร่กระจายของเชื้อโรค คือ การมีสุขอนามัยที่ดี ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

1. ปิดปากหรือจมูกด้วยกระดาษทิชชู เมื่อไอ จาม ทิ้งกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วลงในถังขยะทันทีที่ใช้เสร็จ

2. ล้างมือให้สะอาด ล้างมือเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนการรับประทานอาหาร ก่อนและหลังการประกอบอาหาร และหลังจากการไอ จาม หรือเข้าห้องน้ำ

3. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่านหรือชุมชนแออัด

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ใหญ่ที่อายุเริ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความสามารถในการสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อโรคต่างๆ ของร่างกายเสื่อมลง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อนิวโมคอคคัสง่ายกว่า เมื่อเทียบกับคนวัยหนุ่มสาว ดังนั้นการเสริมภูมิคุ้มกันตั้งแต่อายุ 50 ปี จึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เสมือนการสร้างเกราะป้องกันให้กับร่างกาย

สำหรับความรุนแรงของเชื้อแบคทีเรีย "นิวโมคอคคัส" ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เผยว่า เชื้อนิวโมคอคคัสส่งผลให้เกิด "โรคไอพีดี" คือโรคติดเชื้อชนิดรุนแรงในเด็ก ซึ่งอาศัยอยู่ในโพรงจมูกและคอ สามารถติดต่อกันโดยผ่านการไอ จาม หรือสัมผัสสิ่งคัดหลั่ง เหมือนกับการแพร่เชื้อไข้หวัดธรรมดา แต่ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัด ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบรุนแรง โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุ 2 ปี ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้

ขณะที่การรักษาโรคไอพีดี ถ้าเป็นการติดเชื้อไม่รุนแรง เช่น คออักเสบ หูน้ำหนวก หรือไซนัสอักเสบ สามารถรักษาโดยการรับประทานยา แต่ถ้าติดเชื้อแบบลุกลามต้องให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด ระดับความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ติดเชื้อ ได้แก่ การติดเชื้อในระบบประสาท เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน คอแข็ง ส่วนในเด็กทารกจะร้องงอแง ซึม ไม่กินนม และชักได้ ถ้ารักษาไม่ทันท่วงทีอาจพิการ หูหนวก ปัญญาอ่อน หรือเสียชีวิต การติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจะมีอาการไข้สูง ร้องกวนงอแง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ช็อก เสียชีวิต

นอกจากนี้ เชื้ออาจกระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ เช่น เยื่อหุ้มสมอง ปอด กระดูกและข้อ เป็นต้น การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หูน้ำหนวก เด็กจะมีอาการไข้สูง บ่นปวดหู งอแง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจลุกลามไปอวัยวะข้างเคียงหรือสมอง หูน้ำหนวกเรื้อรัง แก้วหูทะลุ และการได้ยินบกพร่อง ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็กด้วย การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนกลาง เช่น ปอดอักเสบ เด็กจะมีไข้ ไอ หายใจเร็ว หอบ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ และเสียชีวิตหากได้รับการรักษาล่าช้า

อย่างไรก็ตาม โรคดังกล่าวสามารถป้องกันเบื้องต้นได้ โดยสอนให้เด็กล้างมือ ปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้งที่ไอหรือจาม หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับคนที่เป็นหวัดหรือป่วย ควรให้ลูกกินนมแม่ เพื่อให้มีภูมิต้านทานจากแม่ไปสู่ลูกทางอ้อม และฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด.

ผู้เขียน : กนก โฆษกสุขภาพ

ขอบคุณ : นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์, นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก, นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

กราฟิก : Supassara Traiyansuwan

Let's block ads! (Why?)



"การป้องกัน" - Google News
September 06, 2020 at 07:30AM
https://ift.tt/2QW7SDJ

รู้จักเชื้อ "นิวโมคอคคัส" ตัวการสู่ "โรคปอดบวม" เช็ก 10 ปัจจัยเสี่ยง ป้องกันไม่ยาก - ไทยรัฐ
"การป้องกัน" - Google News
https://ift.tt/2ZY9SB2


Bagikan Berita Ini

0 Response to "รู้จักเชื้อ "นิวโมคอคคัส" ตัวการสู่ "โรคปอดบวม" เช็ก 10 ปัจจัยเสี่ยง ป้องกันไม่ยาก - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.